การใช้ LOMO LC-A+
เนื่องจากภาพที่ได้จาก LC-A จะเป็นภาพจาก 8M และ Holga รวมกัน
มีคาแรกเตอร์ชัดเจนมาก
LC-A+ จะเป็นกล้อง Compact ขนาดกระทัดรัด น้ำหนักกำลังดี
ดูแข็งแรงทนทานกว่ากล้อง Body พลาสติกอย่าง Holga หรือ 8M มากทีเดียวค่ะ
จุดเด่นที่ชาวโลโม่ชอบกันนัก คือเลนส์ Minitar 1 ของมันนี่แหละ
เนื่องจากให้ภาพที่มีความคมชัดได้ดี ในแทบทุกสภาพแสง
และเวลาที่ต้องการให้ Out focus ก็ให้ความเบลอที่มีสเน่ห์เฉพาะตัวได้ดีมากๆ
ข้อมูล Spec กล้องโดยสรุป จาก lomothai.com จะเป็นดังนี้ครับ (เป็นของ LC-A เดิม ก่อน LC-A+)
ขนาด film : 35 มม. ขนาด frame : 24 x 36
- จำนวนภาพ : 36 ภาพ
- จุดรวมโฟกัส : 32 มม.
- Relative aperture : 1:2.8
- ระยะโฟกัส : 0.8 ม. ถึง infinite
- ขนาดรูรับแสง : ตั้งแต่ 2.8 ถึง16
- ความเร็ว Shutter : 1/500 ถึง 2 วินาที (Telescopic shutter)
- อิเลคทรอนิค shutter ควบคุมด้วย ที่วัดแสง อิเลคทรอนิค
- และที่วัดแสง อิเลคทรอนิคตั้งค่าด้วย ISO
- ความไวแสงของเซลรับแสง : 0.6 ถึง 19000 cd/m2
Colorsplash Flash
เพราะ LC-A+ ไม่มี Flash ในตัว จึงจำเป็นสำหรับผู้ที่ใช้ถ่ายในตอนกลางคืน
และมีColorsplashทำให้ได้รูปสีสันที่แปลกใหม่
Lens ของ LC-A+ เป็นเลนส์แก้ว ซึ่งผลิตขึ้น เพื่อใช้ในกล้อง LC-A โดยเฉพาะใช้ชื่อว่า Minitar 1
เลนส์ชุดนี้ ให้คุณภาพของภาพที่ดีมากทีเดียวค่ะ
เรียกว่า ทำให้เชื่อกันได้เลย ว่าถาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม จะแจ่มแน่ๆ
ถ้าคุณตั้งค่าต่างๆ ตรงตามใจคุณแล้วนะ
เลนส์ชุดนี้ ให้คุณภาพของภาพที่ดีมากทีเดียวค่ะ
เรียกว่า ทำให้เชื่อกันได้เลย ว่าถาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม จะแจ่มแน่ๆ
ถ้าคุณตั้งค่าต่างๆ ตรงตามใจคุณแล้วนะ
เลนส์จะเป็น Wide angle ช่วงประมาณ 32mm และ F-Stop กว้างสุดที่ 2.8
ด้านบนของกล้อง จะมี Hot Shoe ให้ใช้สำหรับเสียบ Flash โดยที่จะมีแผ่นพลาสติกเล็กๆ ปิดเอาไว้
ในภาพนี้ถอดพลาสติกออกนะคะ
ในภาพนี้ถอดพลาสติกออกนะคะ
Flash ที่น่าจะเอามาเล่นด้วยกันมากที่สุด ก็คงจะเป็น Colorsplash นี่แหละ
ใส่แล้วดูหล่อขึ้นเยอะ
แล้วยังถ่ายได้ถึง 12 สีอีกต่างหาก
Guide number ก็ไม่น้อยเหมือนที่ Build in มากับ Holga
คุณภาพของภาพที่ได้ แทบไม่ต้องห่วงเลย
ใส่แล้วดูหล่อขึ้นเยอะ
แล้วยังถ่ายได้ถึง 12 สีอีกต่างหาก
Guide number ก็ไม่น้อยเหมือนที่ Build in มากับ Holga
คุณภาพของภาพที่ได้ แทบไม่ต้องห่วงเลย
สังเกตดูว่า เมื่อใช้ LC-A+ ร่วมกับ Flash มันจะสั่งให้ Flash ทำงาน เมื่อชัตเตอร์ปิด
นั่นคือ กดชัตเตอร์แล้ว Flash จะยังไม่ยิงทันที แต่จะยิงก็ต่อเมื่อเราปล่อยปุ่มชัตเตอร์
นั่นคือ กดชัตเตอร์แล้ว Flash จะยังไม่ยิงทันที แต่จะยิงก็ต่อเมื่อเราปล่อยปุ่มชัตเตอร์
ด้านขวาของตัวกล้องด้านหลังจะเป็นเฟืองสำหรับเลื่อนฟิล์ม ซึ่งจะมีจังหวะล็อก เมื่อเลื่อนฟิล์มมาถึงจุดที่กำหนดไว้
เวลาใช้งาน บางครั้งก็รู้สึกฝืดๆ อยู่บ้าง แต่ก็เลื่อนได้นะคะ
แต่อย่าไปฝืน ถ้าเลย 36 รูปไปแล้ว อาจทำให้กล้องพัง หรือฟิล์มขาดได้
เวลาใช้งาน บางครั้งก็รู้สึกฝืดๆ อยู่บ้าง แต่ก็เลื่อนได้นะคะ
แต่อย่าไปฝืน ถ้าเลย 36 รูปไปแล้ว อาจทำให้กล้องพัง หรือฟิล์มขาดได้
ถ้าโหลดฟิล์มไม่ดี ฟิล์มตกร่องหนามเตย จะดังกึกๆ เวลาเลื่อน
หลังกล้อง จะมีจุดที่ชอบอยู่หน่อยนึงคือมีช่องบอกว่าเราใส่ฟิล์มอะไรไว้ ทำให้เราไม่ลืมที่จะไปตั้งค่า ISO ให้ถูกต้อง
และไม่ลืมว่าเราใส่ฟิล์มอะไร สไลด์หรือสี และยี่ห้อไหนไว้
และไม่ลืมว่าเราใส่ฟิล์มอะไร สไลด์หรือสี และยี่ห้อไหนไว้
LC-A+ จะมีจุดเพิ่มเติมอีกจุด ที่เพิ่มขึ้นมาจากรุ่นเก่าคือความสามารถในการถ่ายภาพซ้อน
ซึ่งกล้องเก่าไม่มี แล้วมักจะต้องใช้วิธีโมเอา
หรือถ่ายให้หมดทั้งม้วน แล้วกรอฟิล์มกลับ เอามาใส่ แล้วถ่ายซ้ำ
ทำให้เราเลือกที่จะถ่ายซ้ำเฉพาะรูปลำบาก และกำหนด หรือเลือกสไตล์ในการเบิ้ลไม่ได้
ซึ่งกล้องเก่าไม่มี แล้วมักจะต้องใช้วิธีโมเอา
หรือถ่ายให้หมดทั้งม้วน แล้วกรอฟิล์มกลับ เอามาใส่ แล้วถ่ายซ้ำ
ทำให้เราเลือกที่จะถ่ายซ้ำเฉพาะรูปลำบาก และกำหนด หรือเลือกสไตล์ในการเบิ้ลไม่ได้
ปุ่มถ่ายซ้อน จะอยู่ใต้กล้อง มีตัวอักษร MX สกรีนติดไว้
เวลาจะเบิ้ล ก็เลื่อนปุ่มนี้มาทีนึง ก็จะสามารถถ่ายเบิ้ลได้เลย
เวลาจะเบิ้ล ก็เลื่อนปุ่มนี้มาทีนึง ก็จะสามารถถ่ายเบิ้ลได้เลย
กล้อง LC-A+ มีระบบวัดแสงแบบอิเล็กโทรนิก ทำให้ต้องใช้กระแสไฟอยู่บ้าง เพื่อให้ระบบทำงานสมบูรณ์ก็จะต้องใส่ถ่านครับ เป็นถ่านนาฬิกา แบบ GPA76 จำนวน 3 ก้อน มีแถมมาให้พร้อมกล้อง
ใส่ลงในช่องใต้กล้องแล้วใช้งานได้เลย
โดยจะมีแผ่นพลาสติกเล็กๆ ซ้อนอยู่ เพื่อช่วยให้ถอดถ่านออกได้ง่ายด้วยค่ะ
ใส่ลงในช่องใต้กล้องแล้วใช้งานได้เลย
โดยจะมีแผ่นพลาสติกเล็กๆ ซ้อนอยู่ เพื่อช่วยให้ถอดถ่านออกได้ง่ายด้วยค่ะ
เวลาถ่าย จะมีไฟสีแดงขึ้นในช่องมองภาพ เพื่อบอกว่าเซลล์วัดแสงทำงาน
ถ้าเมื่อไรไม่ติด ก็ถ่านหมด เปลี่ยนใหม่ได้เลยค่ะ
ถ้าเมื่อไรไม่ติด ก็ถ่านหมด เปลี่ยนใหม่ได้เลยค่ะ
วนปุ่มเล็กๆ ที่เห็นในภาพ จะเป็นปุ่มกด เพื่อปลดล็อก กรอฟิล์มกลับ เวลาฟิล์มหมดม้วน
ปิดฝาหลังดูกันค่ะไม่มีอะไรมาก กลไกไม่ซับซ้อนวุ่นวาย
มีเขี้ยวหนามเตย คอยดึงฟิล์ม
มีแกนฟิล์มปกติ
แต่ควรรักษาความสะอาดให้ดีนะคะ
ถ้ามีลูกยางเป่าฝุ่น ใช้เปากอนใส่ฟิล์มทุกครั้งได้ ก็จะดี
เพราะส่วนนี้ มันจะทำงานใกล้ชิดกับฟิล์มมาก ถ้ามีฝุ่นติดอยู่ อาจจะทำให้ฟิล์มเป็นรอยได้เลย
มีเขี้ยวหนามเตย คอยดึงฟิล์ม
มีแกนฟิล์มปกติ
แต่ควรรักษาความสะอาดให้ดีนะคะ
ถ้ามีลูกยางเป่าฝุ่น ใช้เปากอนใส่ฟิล์มทุกครั้งได้ ก็จะดี
เพราะส่วนนี้ มันจะทำงานใกล้ชิดกับฟิล์มมาก ถ้ามีฝุ่นติดอยู่ อาจจะทำให้ฟิล์มเป็นรอยได้เลย
การปรับโฟกัส
จะใช้สวิทช์แท่งเล็กๆ ข้างๆ เลนส์ เป็นตัวปรับ ตามระยะที่กล้องห่างจากแบบ
แบ่งเป็น 4 ระยะ
(สีเหลือง) 0.8 ม. (3 ฟุต) สำหรับภาพ Portrait
(สีแดง) 1.5 ม. (4.5 ฟุต) (สีขาว) 3 ม. (10 ฟุต) (สีเขียว) Infinity (เกิน 3 ม./ 10 ฟุตขึ้นไป)
เราอาจจะได้ภาพที่แปลกตาไปเลย
ช่วยให้เลือก Focus ได้สนุกสนานค่ะ โดยเฉพาะเวลาที่ตั้ง Focus ผิด
ตั้งระบบการถ่าย
ถ้าต้องการจะถ่ายแบบกดอย่างเดียวให้ปรับไปที่ "A" มันจะคำนวณสภาพแสง และ speed shutter ที่เหมาะสมตามค่า ASA ให้เอง
ถ้าอยากใช้ โหมดรับรู้แสงไม่ว่ากรณีใดก็ตาม พึงไว้เสมอว่าจะตั้งshutterไปที่1/60คงที่เสมอ